โลหะ 14 ชนิดที่ต้องรู้จัก-นิยมนำมาใช้เชิงอุตสาหกรรมและพาณิชย์มากที่สุด!

โลหะ 14 ชนิดที่ต้องรู้จัก-นิยมนำมาใช้เชิงอุตสาหกรรมและพาณิชย์มากที่สุด

        โลหะ (Metal) ถือกำเนิดขึ้นในยุคสำริด (Bronze Age) เพราะเป็นยุคที่มนุษย์รู้จักใช้โลหะสัมฤทธิ์ (Bronze) นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีโลหะเป็นพันชนิดและหลากหลายคุณภาพ โลหะแต่ละชนิดถูกพัฒนาเพื่อนำไปใช้ในงานเฉพาะ (Specific Applications) ในชีวิตประจำวันของทุกคนแทบจะไม่มีใครสามารถหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ ชิ้นส่วน อุปกรณ์เครื่องใช้ และวัสดุอุปกรณ์ที่ผลิตจากโลหะได้เลย ถือว่าโลหะกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไปเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ดี น้อยคนมากที่สามารถดูออกว่าผลิตภัณฑ์ ชิ้นส่วน หรืออุปกรณ์เครื่องใช้ที่ใช้งานอยู่นั้นทำจากโลหะชนิดใดบ้าง ศิรินครโลหะกิจจะพาไปทำความรู้จักโลหะ 14 ชนิดที่นิยมนำมาใช้งานมากที่สุด

เหล็ก

 

โลหะ 14 ชนิดที่นิยมนำมาใช้เชิงอุตสาหกรรมและพาณิชย์มากที่สุด มีอะไรบ้าง

เหล็กกล้า

1.เหล็กกล้า (Steel)

คือ โลหะชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาใช้มากที่สุดในโลก เนื่องจากเหล็กกล้าเป็นโลหะที่ประกอบด้วยเหล็กและคาร์บอน มีอัตราส่วนของเหล็ก (Iron) ประมาณ 99% และคาร์บอนประมาณ 1% เหล็กกล้ามีคุณสมบัติที่สำคัญ ได้แก่ ความทนต่อแรงดึง (Tensile Strength) และความเหนียว (Toughness) ด้วยคุณสมบัติดังกล่าวส่งผลให้เหล็กกล้ามีความคงทนถาวรไม่เปลี่ยนรูปทรงได้ง่าย นอกจากนี้ เหล็กกล้ายังมีคุณสมบัติของความแข็งแรงต่อน้ำหนักในระดับสูง (High Strength to Weight Ratio) เหล็กกล้ามีราคาไม่สูงมากนัก เนื่องจากสามารถผลิตได้ในปริมาณมาก และยังมีความแข็งแรง อย่างไรก็ดี หากปล่อยให้เหล็กกล้าโดนน้ำ หรือดูแลรักษาไม่ดี อาจทำให้เป็นสนิมได้

    การใช้งาน: นิยมนำมาใช้ในการสร้างตึกสูง (Skyscrapers) รถดันดิน (Bulldozers) ค้อน (Hammers) รถไฟ (Trains) ทางรถไฟ (Railroads) และสนามกีฬา (Stadiums)

สแตนเลส
สแตนเลส

2.เหล็กกล้าไร้สนิม หรือสแตนเลสสตีล (Stainless Steel)

คือ เหล็กกล้าผสม (Alloy of Steel) เป็นที่ทราบกันดีว่าโลหะชนิดนี้มีความแข็งแรงเป็นพิเศษ และทนทานหรือต้านทานการกัดกร่อนได้เป็นอย่างดี (Corrosion Resistance) ถือว่าเป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของโลหะ คุณลักษณะพิเศษอีกอย่างของเหล็กกล้าไร้สนิมหรือสแตนเลสสตีล คือการมีธาตุโครเมียมผสม สูงถึง 11% ซึ่งคุณลักษณะอันนี้ช่วยให้เหล็กกล้าไร้สนิม/สแตนเลนสตีลไม่ให้เป็นสนิม ยิ่งไปกว่านั้น ธาตุโครเมียมยังมีส่วนช่วยให้ทนทานหรือต้านทานการกัดกร่อน และโลหะชนิดนี้มีส่วนผสมของคาร์บอนประมาณ 0.003% ถึง 1% เท่านั้น

     การใช้งาน: นำมาใช้ผลิตหม้อ (Pots) กระทะ (Pans) ซ้อม (Folks) มีด (Knives) เครื่องมือผ่าตัด (Surgical Instrument) และเครื่องมือทันตกรรม (Dental Instrument)

เหล็กกล้าคาร์บอน
เหล็กกล้าคาร์บอน

3.เหล็กกล้าคาร์บอน (Carbon Steel)

เป็นเหล็กกล้าผสมอีกชนิดหนึ่งที่มีส่วนผสมของคาร์บอนในระดับสูงประมาณ 2.1% ปริมาณของคาร์บอนที่สูงนี้ทำให้เหล็กกล้าชนิดนี้มีคุณสมบัติของความทนทานสูง (High Durability) มีจุดเดือดต่ำ (Low Melting Point) และมีความสามารถในการขึ้นรูประดับสูง (High Malleability) นอกจากนี้คาร์บอนยังช่วยให้การกระจายความร้อนของเหล็กกล้าคาร์บอนมีประสิทธิภาพ (Heat Distribution)

  การใช้งาน: เหล็กกล้าคาร์บอนนิยมนำมาใช้ผลิตรถยนต์ (Cars) สะพาน (Bridges) ตู้เย็น (Fridges) เครื่องมือตัด (Cutting Tools) ในกลุ่มผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหนัก (Heavy Duty Products) เป็นวัสดุก่อสร้างเชิงโครงสร้าง (Structural Building Materials) และเป็นส่วนประกอบเชิงกลอย่างง่าย (Simple Mechanical Components)

4.เหล็กกล้าผสม (Alloy Steel)

เป็นเหล็กกล้าที่มีส่วนผสมของคาร์บอนไม่เกิน 1.7% สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ เหล็กกล้าผสมสูง (High Alloy Steel) และเหล็กกล้าผสมต่ำ (Low Alloy Steel) เหล็กกล้าผสมมีคุณลักษณะพิเศษ ได้แก่ ความแข็งแรงเชิงกล (Mechanical Strength) ความแข็ง (Hardness) ความทนทานหรือต้านทานการกัดกร่อนได้เป็นอย่างดี (Corrosion Resistance) และทนความร้อน (Heat Resistance)

การใช้งาน: เหล็กกล้าผสมนิยมนำมาใช้ผลิตเครื่องยนต์ไอพ่น (Jet Engines) และเครื่องยนต์ของยานยนต์ต่าง ๆ (Automotive Engines)

5.เหล็ก (Iron)

เป็นโลหะชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์เป็นอย่างมาก เนื่องจากสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างหลากหลาย และเป็นส่วนผสมหลักของโลหะหลายชนิด หากโลกนี้ไม่มีเหล็ก (Iron) โลหะเหล็กกล้าไม่มีเช่นกัน (Steel)

               การใช้งาน: นำมาผลิตเครื่องครัว (Cookware) กระทะที่มีด้ามยาวและก้นตื้น (Skillets) ถือเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุดในการผลิตผิวหน้าของเครื่องครัวแบบพื้นผิวไม่ติด (Non-Stick Surface) นอกจากนี้ยังนิยมนำมาผลิตชิ้นส่วนของยานยนต์ (Automotive Parts) ชิ้นส่วนของเครื่องจักร (Machinery Parts) และวัสดุก่อสร้าง (Building/Construction Parts)

เหล็ก
อลูมิเนียม
อลูมิเนียม
อลูมิเนียม

6.อลูมิเนียม (Aluminum or Aluminium)

คือโลหะอีกชนิดหนึ่งที่ถูกจัดให้เป็นธาตุหรือสารบริสุทธิ์ (Element) มีลักษณะสีขาวมันเงา (Silver-White Metal) ทำให้ดูแวววาว ที่จริงอลูมิเนียมไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่เกิดจากการทำปฏิกิริยาระหว่างสารประกอบอื่น ๆ เช่น ออกซิเจน จึงทำให้เกิดเป็นสารประกอบ (Compound) ผลลัพธ์ของอลูมิเนียมที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติที่สามารถพบเห็นได้มากที่สุด ได้แก่ ซัลเฟต (Sulfates)  อลูมิเนียมถูกค้นพบครั้งแรกในปี 1824 และหลังจากนั้นเป็นเวลาหลายปีมนุษย์เรียนรู้ที่จะผลิตอลูมิเนียมเองในปริมาณมากเพื่อใช้ในทางพาณิชย์ (Commercial Use) คุณสมบัติที่โดดเด่นอย่างหนึ่งที่ทำให้อลูมิเนียมเป็นโลหะที่นิยมเป็นอย่างมาก นั่นคือ มีความแข็งแรงต่อน้ำหนักในระดับดีเยี่ยม (Excellent Strength to Weight Ratio) นอกจากนี้อลูมิเนียมมีคุณสมบัติอีกอย่างที่สำคัญ คือ ไม่เป็นสนิม อย่างไรก็ดี หากโลหะชนิดนี้ทำปฏิกิริยากับสารเคมีอื่น ๆ จะส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (Oxidation) และการกัดกร่อนขึ้น (Corrosion)

            การใช้งาน: เนื่องจากเป็นโลหะที่สามารถดัดเป็นรูปร่างต่าง ๆ ได้ง่าย จึงนิยมนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ในหลายอุตสาหกรรม เช่น แผ่นเปลวอลูมิเนียมหรืออลูมิเนียมฟอยล์ (Aluminum Foil) ไม้เบสบอล (Baseball Bat) เครื่องบิน (Airplane) และเสาไฟถนน (Street Light Poles) เป็นต้น

7.ทองแดง (Copper)

เป็นโลหะโบราณอีกชนิดหนึ่งที่ยังคงนำมาใช้จนถึงในยุคปัจจุบัน ทองแดงบริสุทธิ์จะมีสีส้มมันวาว เป็นโลหะที่มีความเหนียวสูง (Highly Ductile) และมีความสามารถในการขึ้นรูปได้เป็นอย่างดี (Highly Malleable) ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ทองแดงนิยมนำไปทำเครื่องประดับ

        การใช้งาน: นิยมนำไปผลิตสายไฟมากที่สุด (Electric Cable) เนื่องจากทองแดงมีคุณสมบัตินำความร้อนได้ดี จึงมักนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์หรืองานที่เกี่ยวข้องกับความร้อน (Thermal Application)

ทองแดง

8.แมกนีเซียม (Magnesium)

เป็นโลหะที่มีน้ำหนักเบา เบากว่าอลูมิเนียม และแม้ว่าจะมีน้ำหนักเบาแต่แมกนีเซียมเป็นโลหะที่มีความแข็งแรงค่อนข้างมาก สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมหนักได้ (Heavy-Duty Applications) ข้อเสียของโลหะแมกนีเซียม คือ กัดกร่อนได้ง่าย

            การใช้งาน: อุตสาหกรรมยานยนต์เป็นหนึ่งในหลายอุตสาหกรรมที่นิยมนำแมกนีเซียมไปใช้งาน เช่น การผลิตขอบล้อ (Rims) และการผลิตเสื้อสูบ (Engine Blocks or Cylinder Block) นอกจากนี้ ยังมีผู้ผลิตยานยนต์บางรายนิยมใช้แมกนีเซียมมากกว่าอลูมิเนียมในการผลิตยานยนต์

9.ทองเหลือง (Brass)

เป็นโลหะผสม (Alloy) ระหว่างทองแดง (Copper) กับสังกะสี (Zinc) อัตราส่วนระหว่างธาตุทั้งสองชนิดขึ้นอยู่กับคุณสมบัติเชิงกลและไฟฟ้าที่ต้องการ (Mechanical and Electrical Properties)

   การใช้งาน: ทองเหลืองเป็นโลหะที่ถูกนำมาใช้ในงานตกแต่งมาอย่างยาวนาน (Decoration) เหตุผลหลัก คือ มีความมันวาวคล้ายกับทอง (Gold) นอกจากนี้ยังนำไปผลิตเป็นที่จับลิ้นชัก (Drawer Pulls) ลูกบิดประตู (Doorknobs) สิ่งประดิษฐ์ (Artifacts) และเครื่องดนตรี (Musical Instruments)

ทองเหลือง

10.สัมฤทธิ์ (Bronze)

เป็นโลหะทองแดงชนิด (Alloy of Copper) จุดที่บอกถึงความแตกต่างระหว่างโลหะสัมฤทธิ์กับเหล็กกล้า (Steel) คือ สัมฤทธิ์เป็นโลหะที่มีดีบุก (Tin) เป็นส่วนประกอบ ส่วนเหล็กกล้ามีสังกะสี (Zinc) เป็นสารผสม อย่างไรก็ดี สัมฤทธิ์มีองค์ประกอบของเหล็กกล้า 12% ทำหน้าที่ให้ความแข็ง (Hardness) และความเหนียว (Tenacity) ที่จริงโลหะสัมฤทธิ์มีคุณสมบัติทางกายภาพและเชิงกลที่แข็งแรงกว่าทองแดงบริสุทธิ์ (Pure Copper)

การใช้งาน: นิยมใช้สัมฤทธิ์ในงานประติมากรรม (Sculptures) เช่น รูปปั้น รูปแกะสลัก หรือใช้ผลิตกระดิ่ง (Bells) เหรียญกีฬาโอลิมปิกส์ (Olympic Medals) และฉาบ (Cymbals) เป็นต้น

11.ไทเทเนียม (Titanium)

เป็นหนึ่งใน 10 โลหะที่มีมากที่สุดบนโลก อย่างไรก็ดีปริมาณที่มากของไทเทเนียมไม่ได้ทำให้ไทเทเนียมเป็นโลหะราคาถูก ตรงกันข้ามเป็นโลหะที่มีราคาค่อนข้างสูง เนื่องจากกรรมวิธีที่ใช้ในการปรับปรุง (Refinement) ไทเทเนียมมีคุณสมบัติของความแข็งแรงต่อน้ำหนักในระดับสูง (High Strength to Weight Ratio) ซึ่งเป็นเหตุผลที่นิยมใช้ในการผลิตชิ้นส่วนของเครื่องบิน และยังเป็นโลหะที่มีคุณสมบัติสามารถเข้ากับเนื้อเยื่อของร่างกายมนุษย์ได้เป็นอย่างดี (Biocompatible Metal)   

   การใช้งาน: นิยมนำไปใช้ในการผลิตเครื่องยนต์ไอพ่น (Jet Engines) ขีปนาวุธ (Missiles) รากฟันเทียม (Implants) ขาเทียม (Prostheses) เรือบรรทุกอากาศยาน (Aircraft Carriers) หรือเรือดำน้ำ (Submarines)

สังกะสี

12.สังกะสี (Zinc)

เป็นโลหะที่ได้รับความนิยมนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ เพราะสามารถดัดแปลงได้อย่างหลากหลาย สังกะสีเป็นโลหะที่ผลิตด้วยวิธีการย่างแร่ซัลไฟด์ (Sulfide Ores) จากนั้นนำผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการย่างแร่ (Resultant Product) ไปแช่ในกรดซัลฟูริกหรือกรดกำมะถัน (Sulfuric Acid) คุณสมบัติของสังกะสี คือ มีจุดเดือดต่ำ (Low Melting Point) ทำให้สังกะสีสามารถหล่อได้ง่าย (Cast) นำไปใช้ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลายด้วยการหลอมละลาย (Melting) และด้วยการพิมพ์ (Molding)

     การใช้งาน: นิยมนำไปเคลือบโลหะชนิดอื่น ๆ เพื่อป้องกันการเกิดสนิม

13.นิกเกิล (Nickel)

เป็นโลหะอีกชนิดที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง เพราะสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้มากมาย หนึ่งในนั้น คือ การผลิตเหล็กกล้า (Steel) นิกเกิลมีความสำคัญที่ช่วยให้เหล็กกล้ามีความแข็ง (Hardness) และคงทน (Toughness) และยังช่วยให้เหล็กกล้าทนทานหรือต้านทานการกัดกร่อนเป็นอย่างดี

การใช้งาน: นำมาผลิตเหรียญ (Coins) อุปกรณ์เก็บสารเคมี (Chemicals) และนำมาผลิตผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับงานตกแต่ง (Decorations)

14.ตะกั่ว (Lead)

เป็นโลหะที่ได้รับความนิยมอีกชนิด คุณสมบัติของตะกั่ว คือ มีความอ่อนนุ่ม (Softness) และความสามารถในการขึ้นรูป (Malleability)

การใช้งาน: นิยมนำมาผลิตกระสุน (Bullet) อย่างไรก็ดี ความนิยมในการนำตะกั่วมาใช้งานลดลงเพราะอันตรายที่มีต่อสุขภาพ

ทั้งนี้ โลหะ 14 ชนิดที่นิยมนำมาใช้เชิงอุตสาหกรรมและพาณิชย์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มโลหะเหล็ก (Ferrous Metal) และกลุ่มโลหะที่ไม่ใช่เหล็ก (Non-Ferrous Metal) ดังนี้

             กลุ่มโลหะเหล็ก (Ferrous Metal) โลหะที่ถูกจำแนกอยู่ในกลุ่มนี้ หมายถึง โลหะที่มีเหล็กเป็นส่วนประกอบพื้นฐานและเป็นกลุ่มโลหะที่ใช้ในอุตสาหกรรมมากที่สุด เหล็กกล้า (Steel) เหล็กกล้าไร้สนิม หรือสแตนเลสสตีล (Stainless Steel) เหล็กกล้าคาร์บอน (Carbon Steel) และเหล็กกล้าผสม (Alloy Steel) เป็นโลหะที่จัดอยู่ในกลุ่มโลหะเหล็ก

            กลุ่มโลหะที่ไม่ใช่เหล็ก (Non-Ferrous Metal) คือโลหะที่ไม่มีเหล็กเป็นส่วนประกอบ หรือเป็นโลหะบริสุทธิ์นั่นเอง ตัวอย่างของกลุ่มโลหะชนิดนี้ที่นิยมนำใช้ในอุตสาหกรรมมากที่สุด ได้แก่ อลูมิเนียม (Aluminum or Aluminium) ทองแดง (Copper) แมกนีเซียม (Magnesium) ทองเหลือง (Brass) สัมฤทธิ์ (Bronze) ไทเทเนียม (Titanium) สังกะสี (Zinc) นิกเกิล (Nickel) และตะกั่ว (Lead)

สรุป: ได้ทราบกันแล้วว่าโลหะ 14 ชนิดที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมและพาณิชย์มากที่สุดมีอะไรบ้าง นอกจากนี้ยังเผยถึงการนำโลหะเหล่านี้ไปใช้งานในหลายอุตสาหกรรม ซึ่งข้อมูลที่เขียนไปข้างต้นสามารถเป็นความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเลือกใช้โลหะให้ตรงกับความต้องการ อย่างไรก็ดี การเลือกใช้โลหะต้องคำนึงถึงคุณสมบัติของโลหะด้วยเช่นกัน

_________________________________________

         บริษัท ศิรินครโลหะกิจ จำกัด เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วน และส่วนประกอบอะไหล่รถทุกประเภท รวมถึงการผลิตชิ้นส่วนและส่วนประกอบตามความต้องการ (Made-to-Order) มากกว่า 30 ปี เชี่ยวชาญการผลิตและออกแบบชิ้นส่วน และส่วนประกอบด้วยงานปั๊ม งานพับ งานตัด งานกลึง และงานเชื่อม พร้อมเข้ารูป ด้วยเทคโนโลยีหุ่นยนต์และเครื่องจักรสมัยใหม่ พร้อมช่างระดับมืออาชีพ

Facebook : ศิรินครโลหะกิจ

Line : @sirinakorn (พิมพ์@ด้วย)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *